Wednesday 11 January 2012

วิธีการเลือกซื้อ External HDD เลือกแบบไหนให้ถูกใจ

วิธีการเลือกซื้อ External HDD เลือกแบบไหนให้ถูกใจ

     ในยุคดิจิตอลที่เลข 0 และ 1 ถูกสังเคราะห์ไปเป็นข้อมูลและสร้างสรรค์ให้คนเรานำไปใช้ประโยชน์อย่างมากมาย(และหลายครั้งก็นำไปใช้แล้วให้โทษมามากมายหลายเช่นกัน)  นับวันเจ้าของข้อมูลดิจิตอลที่ประกอบไปด้วยเลข 2 ตัวนี้ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นทุกอณูมวล  การจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลก็มีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย  และหากมองถึงความเป็นดิจิตอลก็มีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว   และหากมองถึงความเป็น  Digital  Mobile  Lifestyle  อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่พกพาได้ก็เริ่มมีอิทธิพลต่อไลฟ์สไตล์ของคนไอทีรุ่นใหม่มากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
   แน่นอนว่าอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถพกพาข้อมูลของคุณไปไหนมาไหนได้สะดวกในเวลานี้มีให้ใช้งานอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ  ที่ฮิตกันอยู่มากที่สุดจะหนีไม่พ้นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซ แบบ USB  ที่สุดแสนยอดนิยมอย่างแพร่หลายอย่างแฟลซไดรฟ์ไปได้  แต่ด้วยขนาดในการจัดเก็บข้อมูลสูงสุดที่สามารถหาซื้อได้ในบ้านเราเพียงแค่ 16 กิกะไบต์ก็อาจจะไม่สะใจพอสำหรับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากกว่านั้นได้  ดังนั้นอุปกรณ์ที่น่าจะตอบสนองความต้องการในการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้น External  Handdisk หรือฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานภายนอกไปได้ (ต่อไปขอใช้คำว่า Ext  HDD เพื่อความกะซับนะครับ)ด้วยราคาที่ลดต่ำลงมาเรื่อยๆ  บวกกับรูปแบบและรูปลักษณ์ที่มีให้เลือกให้อย่างหลากหลาย  จึงไม่แปลกในที่  Ext HDD จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าไข้หวัด 2009  และจุดประสงค์ของบทความนี้ก็คือการแนะนำการเลือกซื้อ Ext HDD  อย่างไรให้ถูกใจคุณผู้อ่านมากที่สุด  พูดง่ายๆ  ก็คือซื้อครั้งเดียวให้ได้ Ext HDD ให้ถูกใจแบบไม่มีชีช้ำกันไปเลย
เลือกรูปแบบของ Ext HDD


        จะว่าไปหากมองถึงรูปแบบของ  Ext  HDD ในปัจจุบัน  ก็อาจสรุปได้ว่ามีอยู่ 2 รูปแบบให้เลือกใช้งาน คือ  ขนาด 2.5 นิ้ว  ที่นำฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว  ที่ใช้งานภายในโน้ตบุ๊กมาประยุกต์ใช้งานเป็น Ext HDD โดย Ext HDD รูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ไปเลี่ยงจากภายนอกมาใช้งานแต่อย่างใด  อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากพอร์ต USB ก็เพียงพอที่จะทำให้ตัวฮาร์ดดิสก์สามารถทำงานได้แล้ว  จึงมีความสะดวกเป็นอย่างมากในการพกพาไปไหนมาไหน  แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องระวังเรื่องการตกกระแทกให้ดีด้วยเช่นกัน  เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าฮาร์ดดิสก์ที่นำมาใช้งานนั้น  เป็นฮาร์ดดิสก์แบบเดียวกับที่ใช้งานในโน้ตบุ๊กซึ่งเป็นระบบกลไกแมกคานิกปรับระดับตำแหน่งหัวอ่านให้อ่านข้อมูลที่อยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล  หากพกพาแบบไม่ระวังก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายจนไม่สามารถอ่านข้อมูลได้  หรือหากว่าเกิดการกระแทกในระหว่างการทำงานก็อาจจะทำให้หัวอ่านกระแทกกับสื่อบันทึกข้อมูลจนเกิดความเสียหายขึ้นทั้งสื่อบันทึกข้อมูลและหัวอ่านได้เช่นกัน
  
     Ext HDD  ขนาด 2.5 นิ้ว  มีความกะทัดรัด  เชื่อมต่อตัวไดรฟ์เข้ากับพอร์ต USB  ก็สามารถใช้งานได้ทันที
           ส่วน Ext HDD อีกแบบจะเป็นแบบขนาด 3.5 นิ้ว  ที่นำฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว  ที่ใช้งานบนเครื่องเดสก์ทอปมาประยุกต์เป็น Ext HDD แน่นอนว่ารูปลักษณ์ของฮาร์ดดิสก์รูปแบบนี้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าในแบบ 2.5 นิ้ว  อย่างเห็นได้ชัดเจนขณะเดียวกันด้วยการเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดสื่อบันทึกข้อมูลที่ใหญ่กว่า  จึงจำเป็นต้องมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม  เพื่อให้มอเตอร์สามารถขับเคลื่อนสื่อบันทึกข้อมูลให้หมุน  และหัวอ่านสามารถค้นหาข้อมูลได้  ด้วยขนาดใหญ่กว่าบวกกับการต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม  ทำให้ Ext HDD รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานอยู่เป็นที่เป็นทางกับเครื่องเดสก์ทอปหรือโน้ตบุ๊กเป็นหลัก  โดยวัตถุประสงค์การใช้งานก็เพื่อขยายขนาดความจุข้อมูลให้กับเครื่องพีซีได้มากกว่าของเดิมที่มีอยู่โดยไม่ต้องอัพเกรดฮาร์ดดิสก์เพิ่มเติม  หรือไม่ต้องเปิดฝาเคสออกมาให้เสียเวลา  ถามยังสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้คล่องตัว  แม่ว่าจะต้องพกอะแดปเตอร์ไปด้วยก็ตาม
     Ext HDD ขนาด 3.5 นิ้ว มีขนาดใหญ่กว่าแบบ 2.5 นิ้ว  และจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากอะแดปเตอร์
     จะเห็นว่า Ext HDD ทั้ง 2 ขนาด  ก็สามารถแบ่งกลุ่มรูปแบบการใช้งานไห้กับผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน  ขณะเดียวกันหากมองในเรื่องของราคาขาย  Ext HDD ที่ขนาดเท่ากัน  ขนาด 3.5 นิ้ว  จะมีราคาต่อ 1 กิกะไบต์  ที่ต่ำกว่า 2.5 นิ้ว  อย่างเห็นได้ชัด (ดูรายละเอียดได้จากตารางที่ 2 ) โดยขนาด 3.5 นิ้วจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อให้คุณได้เลือกใช้งานที่หลากหลายกว่า  ซึ่งรูปแบบการเชื่อมต่อจะมีรูปแบบใดให้ใช้งานนั้นเราไปดูราบละเอียดส่วนนี้ในหัวข้อถัดไปกันเลย
อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อก็สำคัญ
         สำหรับอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่เราจะพบจาก  Ext HDD ก็มีหลายรูปแบบด้วยกันไม่ว่าจะเป็นแบบพอร์ต  USB 2.0 ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแถมยังให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงสุดถึง 480  เมกะบิตต่อวินาที  อีกด้วยหรือจะเป็นแบบ  Fire Wire  ในแบบ IEEE400  และ IEEE800  ที่ให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลในระดับ  400 เมกะบิตต่อวินาที  และ 800 เมกะบิตต่อวินาทีและที่ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุดก็หนีไม่พ้นอินเตอร์เฟซแบบ eSATA หรือ External SATA ที่นำการเชื่อมต่อแบบ SATA มาใช้กับ Ext HDD ภายนอกได้  ทำให้การเชื่อมต่อข้อมูลมีความรวดเร็วในระดับ 300 เมกะไบต์ต่อวินาที  ซึ่งเทียบเท่ากับการติดตั้งฮาร์ดดิส์กแบบ SATA ไว้ในตัวเคสของเครื่องพีซีเลยที่เดียว

            รูปแบบการเชื่อมต่อของ Ext HDD กับเครื่องพีซีในอินเตอร์เฟซรูปแบบต่างๆ
ตารางที่ 1 แสดงอัตราการถ่ายโอนข้อมูลในทางทฤษฏีของอินเตอร์เฟซการเชื่อมในรูปแบบต่างๆ
eSATA
300  เมกะไบต์ต่อวินาที
FireWire 800
800 เมกะบิตต่อวินาที (100 เมกะไบต์ต่อวินาที)
FireWire 400
400 เมกะบิตต่อวินาที (50 เมกะไบต์ต่อวินาที)
USB 2.0
480 เมกะบิตต่อวินาที (60 เมกะไบต์ต่อวินาที)
NAS  อีกตัวเลือกที่น่าสนใจ
       Ext  HDD แบบ NAS หรือ Network  Attach  Storage  เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการอรรถประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม  เพราะ NAS สามารถที่จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายได้  ทำให้สามารถแบ่งปันไฟล์ต่างๆ  ให้กับเครื่องพีซีอื่นๆ  ในระบบเครือข่ายได้อย่างสะดวกโดยที่  NAS จะมีให้เลือกใช้งานทั้งที่ออกแบบสำหรับใช้ในองค์การขนาดใหญ่หรือสำนักงานขนาดเล็ก
    NAS  จะมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบที่มีฮาร์ดดิสก์มาให้สำเร็จรูปในตัว  ผู้ใช้ไม่สามารถอัพเกรดได้ (เว้นแต่มีการถอดเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวเอง)และแบบที่ต้องซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งานเอง  โดยในซีรส์ที่มีราคาสูงสักหน่อยก็อาจจะมีคุณสมบัติการใช้งาน RAID 0 และ RAID 1  มาให้ด้วยหรือจะเป็นคุณสมบัติการดาวน์โหลดไฟลือัตโนมัติ  อย่างเช่น  บิตทอร์เนนต์เพิ่มมาให้ใช้งานเพิ่มอีกด้วย
     ส่วน NAS อีกแบหนึ่งก็จะเป็น NAS แบบ NAS Sever  ที่ผู้ใช้จะต้องจัดหาฮาร์ดดิสก์มาใช้งานเพิ่มเติมเองโดย  NAS รูปแบบนี้จะมีฟังก์ชันการใช้งานมาใช้งานมากมาย  นอกเหนือจากฟังก์ชั่นทั่วไป  อย่าเช่น  การทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อแบ่งปันไฟล์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทั้งในแบบ SMB,FTP,HTTPS,HTTP และ AEP ทำให้องค์การไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่มาใช้งาน  อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ  หากเป็น NAS Sever ในรุ่นท็อปก็จะมีไดรฟ์เบย์ในแบบ  Hot  Swap  ได้  แม้ว่าตัวเครื่องกำลังทำงานอยู่ก็ตาม  ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น
ขนาดเท่าไหร่ที่น่าจะซื้อ
   จากการเลือกประเภท  อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อ  ของ Ext  HDD ต่อไปเรามาดูกันว่า  Ext HDD  ขนาดความจุเท่าไหร่ที่น่าใช้งานมากที่สุด  จากตารางที่ 2 เป็นตารางแสดงราคาต่อ 1 กิกะไบต์ ของ Ext HDD ในรูปแบบและขนาดต่างๆ  จะเห็นว่า Ext HDD ที่มีขนาดความจุยิ่งมาก  ก็ยิ่งมีราคาต่อราคาต่อ 1 กิกะไบต์ที่น้อยลงตามไปด้วย  ที่สังเกตได้ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ  Ext HDD ขนาด 2.5 นิ้ว จะมีราคาต่อ1 กิกะไบต์  ที่สูงกว่าขนาด 3.5 นิ้ว  อยู่ประมาณ 21% - 24%    เลยทีเดียวและแน่นอนว่าถ้าหากมองที่ราคาต่อ 1 กิกะไบต์ Ext HDD ความจุสูงๆ  ช่างให้ความคุ้มค่าน่ายั่วยวนใจเสียเหลือเกินโดยให้ความคุ้มที่สุดคือ 3.66 บาท ต่อ 1 กิกะไบต์

ตารางที่ 2 ราคาต่อ 1 กิกะไบต์  ของ Ext HDD ขนาด  และรูปแบบต่างๆ
ประเภทของ Ext HDD
ขนาดความจุ
ราคาโดยเฉลี่ย
ค่าใช้จ่ายต่อขนาด 1 กิกะไบต์
Ext HDD ขนาด 2.5 นิ้ว
160 กิกะไบต์
1,995  บาท
12.46  บาท
250 กิกะไบต์
2,420  บาท
9.68  บาท
320 กิกะไบต์
2,698  บาท
8.42  บาท
500 กิกะไบต์
3,878  บาท
7.75  บาท
Ext HDD ขนาก 3.5 นิ้ว
320 กิกะไบต์
2,210  บาท
6.62  บาท
500 กิกะไบต์
2,910  บาท
5.82  บาท
1,024 กิกะไบต์
4,560  บาท
4.48  บาท
1,.240 กิกะไบต์ มี พอร์ต eSATA
(7,200 รอบต่อวินาที)
6,100  บาท
5.95  บาท
1,596 กิกะไบต์
5,800  บาท
3.66  บาท
การประกันก็ไม่ควรมองข้าม
         นอกเหนือจากปัจจัยการเลือกซื้อแล้ว  ในส่วนของการรับประกันหลังการขายก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยการเลือกซื้ออื่นๆ  เพราะนั่นหมายถึงความสุขหรือความสุขใจหรือทุกข์ใจปริมาณมากหรือน้อยที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ตัว  Ext HDD มีปัญหาเกิดขึ้น  ดังนั้นในการเลือกซื้อ Ext HDD คุณควรจะมองว่าแบรนด์ใดให้ระยะเวลารับประกันมากน้อยเพียงใด  มีศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่ายมากน้อยแค่ไหน  และหากตัวสินค้ามีความเสียหายจะมีการบริการเสริมมากน้อยอย่างไรเปลี่ยนตัวใหม่ให้หรือไม่  มีบริการแบ็กอัพข้อมูลให้ฟรี  หรือต้องมีค่าใช้จ่าย  ในส่วนนี้คุณต้องหาข้อมูลด้วยตัวเองก่อนซื้อให้ดีเสียก่อน  เพราะหากไปถามพนักงานขายก็อาจจะให้คำตอบที่คลาดเคลื่อนแก่คุณได้
USB 2.0 VS FireWire 400 VS FireWire 800 : แบบแรงกว่ากัน
        ด้วยอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่หลากหลาย  แน่นอนว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของการเชื่อมต่อแต่ละแบบไม่เท่ากันโดยเฉพาะความต่อเนื่องในการถ่ายโอนข้อมูล  จุดนี้จึงเป็นอีกจุดหนึ่งทีมงานอยากทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลแก่ผู้อ่านคุณผู้อ่านได้ทราบ  ในการทดสอบครั้งนี้ทีมงานทดสอบด้วยการใช้ My Book Studio  ของ  Western Digital ขนาด 500 กิกะไบต์  ที่มีพอร์ตให้ใช้งานทั้ง  FireWire 400, FireWire 800,USB 2.0 และ eSATA อย่างครบถ้วน
          สำหรับการทดสอบทีงานได้ทดสอบโดยอิงการใช้งานจริงเป็นหลัก  นั้นคือ  ทดสอบด้วยการจับเวลาในการถ่ายโอนข้อมมูลขนาด 1 กิกะไบต์  ในรูปแบบต่างๆ  รวมถึงการทดสอบการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่าง  Photoshop  ที่มีการเซ็ตให้ตัวแอพพลิเคชั่นใช้งานหน่วยความจำเพียงแค่ 25 %  โดยทุกหัวข้อการทดสอบจะมีการทดสอบทั้งหมด 4 ครั้ง  แล้วนำผลการทดสอบที่ดีที่สุดเป็นผมการทดสอบที่ได้ออกมา  ส่วนระบบที่ใช้ในการทดสอบได้แสดงในตากรางแสดงผลการทดสอบเรียบร้อยแล้วในตารางที่ 3 เรียบร้อยแล้ว
ตารางที่ 3 แสดงรายละเอียดระบบที่ใช้ในการทดสอบ
ซีพียู
Intel Core 5 Duo E4200 1.8 GHz @ 3GHz
เมนบอร์ด
Gigabyte GA-965p-DS3
กราฟิกการ์ด
MSI GeForce88000 GT 512 MB
หน่วยความจำ
2 x G-Skill  DDR2 800 1GB
ฮาร์ดดิสก์
Western  Digital Caviar 400GB 7200rpm
ระบบปฏิบัติการ
Windows XP SP3
ผลการทดสอบ
ตารางที่ 4 ผลการทดสอบเวลาการโอนถ่ายข้อมูลขนาด 1 กิกะไบต์  ในรูปแบบต่างๆ(ใช้เวลายิ่งน้อยยิ่งดี)
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์ (FireWire800)
0:32
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์ (FireWire400)
0:43
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์
(USB 2.0)
0:51
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์ (eSATA)
0:31
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(FireWire800)
0:47
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(FireWire400)
1:12
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(USB 2.0)
1:20
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(eSATA)
0:49
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(FireWire800)
1:21
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(FireWire400)
1:31
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(USB 2.0)
1:34
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(eSATA)
1:24

สรุปผลการทดสอบ
         ในการทดสอบก๊อปปี้ไฟล์ขนาด 1 กิกะไบต์  จากเครื่องทดสอบไปยังตัวไดรฟ์  พบว่า eSATA ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วที่สุด  โดยมี FireWire 800  ตามาเป็นอันดับสองด้วนเวลาต่างกันเพียง 1 วินาที FireWire 400  ตามมาเป็นอันดับ 3 และ USB 2.0 เป็นอันดับสุดท้ายแม้ว่าในทางทฤษฏี  USB 2.0 จะมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลสูงกว่า FireWire 400 แต่ในการใช้งานจริงจะพบว่า FireWire 400 ให้ความรวดเร็วกว่าอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน USB 2.0 ใช้เวลาช้ากว่า eSATA อยู่ 20 วินาที  หรือประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์  เลยทีเดียว
     สำหรับการคักลอกไฟล์จากตัวไดรฟ์มายังเครื่องพีซีทดสอบ  ปรากกฎว่าเป็น FireWire 800ที่ผลการทดสอบได้ดีกว่า  eSATA ด้วยการมีความแตกต่างของเวลาเพียง 2 วินาที  ขณะที่ USB 2.0 ก็ยังทำผลงานได้ช้าที่สุดเช่นเดิม  โดยช้ากว่า FireWire 400 ถึง 8 วินาที และช้ากว่า  FireWire  800 ถึง 33วินาที หรือ 21 เปอร์เซ็นต์
สำหรับการทดสอบสุดท้ายที่นำแอพพลิเคชั่น  Photoshop มาร่วมเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบ  เพื่อให้ผลทดสอบที่ตรงกับการใช้งานจริงมากที่สุด  และเซ็ตให้ตัวแอพพลิเคชันใช้งานหน่วยความจำจากระบบพีซีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์  ก็พบว่า FireWire 800 ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุดเช่นเคย  โดยเร็วกว่า eSATA อยู่ 3 วินาที  ขณะที่ FireWire 400 ก็ทำเวลาได้ดีกว่า USB 2.0 อยู่ 3 วินาที  และแน่นอนว่า USB 2.0 ก็ยังใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูลได้ช้าที่สุดอีกครั้ง  โดยมีความแตกต่างจาก FireWire 800 อยู่ 13 วินาที หรือประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์
       จากผลการทดสอบ  จะเห็นได้ว่า  eSATA และ FireWire 800 ให้ความสวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน (แม้ว่าในทางทฤษฏีจะมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลต่างกัน 3 เท่าตัว) จึงเป็นสองอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่ควรนำมาใช้งานเป็นอย่างยิ่งหากว่าคุณจะคิดจะนำ Ext HDD มาใช้งานที่ต้องเก็บไฟล์ขนาดใหญ่  หรืองานทีต้องการความรวดเร็วในการเก็บข้อมูลระดับสูง  อย่างเช่น การเก็บไฟล์เสียง  หรือไฟล์วีดีโอที่ได้จากการตัดต่อ  เป็นต้น  ขณะเดียวกัน FireWire 400  ก็ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ดีกว่า USB 2.0 ในทุกหัวข้อการทดสอบ  ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ทีมงานรู้สึกแปลกใจแต่อย่างใด  เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา FireWire 400 จะให้ความเสถียรภาพและความคงที่ในการถ่ายโอนข้อมูลมากกว่าอยู่แล้ว
ดูที่งบประมาณ  และรูปแบบดารใช้งานเป็นหลัก
     เชื่อว่าคุณผู้อ่านจะได้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางการเลือกซื้อ  Ext HDD จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยโดยสิ่งที่ควรจะยึดเหนี่ยวหลักๆ  ในการเลือกสรร Ext HDD ก็คือ
            หนึ่ง งบประมาณในการเลือกซื้อที่คุณมีอยู่  มีงบเต็มที่ได้แค่ไหนก็เลือกเอารุ่นที่รามคาไม่เกินงบประมาณของคุณดีที่สุด  แม้ว่าในรุ่นความจุขนาดใหญ่จะมีราคา 1 กิกะไบต์  ที่น่าสนใจก็ตาม  เพราะการใช้งานทั่วไปอินเตอร์เฟซแบบ USB 2.0 ก็น่าจะเพียงพออยู่แล้ว
          สอง  เลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน  หากว่าไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ  แต่เน้นประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลักเพื่อให้เหมาะสมกับงาน  เช่น  การเก็บข้อมูลขนาดใหญ่  การใช้ Ext HDD ร่วมกับแพพลิเคชันที่ต้องการความเร็ว  อย่างเช่น  โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ  หรือการทำงานทางด้านมัลติมีเดียที่ต้องการอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระดับสูง  ก็ให้เลือกใช้งาน Ext HDD ที่รองรับอินเทอร์เฟซ แบบ FireWire 800, FireWire 400  หรือ eSATA หากต้องการแชร์ไฟล์ผ่านระบบเครือข่าย  การเลือกใช้งาน NAS เองก็จะมีระบบรักษาความปลอกภัยพื้นฐานมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งานอยู่แล้ว
        จะซื้อ Ext HDD มาใช้งานทั้งทีก็ต้องให้ได้ของถูกใจและดีที่สุด  ยิ่งกับสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ด้วยแล้ว  การจับจ่ายแต่ละครั้งก็ควรจะต้องจบด้วยความแฮปปี้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับชีวิต  เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดแล้วล่ะครับ
      Credit : PC World
                   www.AddictIT.com

No comments:

Post a Comment