Monday 16 January 2012

เคล็ดลับการเลือกซื้อ เมมโมรี่ การ์ดให้เหมาะกับการใช้งานที่สุด

เคล็ดลับการเลือกซื้อ เมมโมรี่ การ์ดให้เหมาะกับการใช้งานที่สุด 

ยุคดิจิตอลทุกวันนี้ เมมโมรี่การ์ด หรือสื่อบันทึก ตัวเล็ก ๆ ทั้งหลายแหล่ เข้ามามีบทบาทในเครื่องใช้ไม้สอยของเรามากขึ้นทุกทีฮ่ะ

วันนี้จะหยิบเอา สิ่งที่ต้องรู้ เกี่ยวกับการซื้อเมมโมรี่การ์ด โดยเฉพาะกับที่ใช้กับกล้องถ่ายภาพมาฝาก เผื่อเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนกำลังมองหาเมมโมรี่การ์ดให้กับกล้องคู่ใจของเรากันอยู่

ไปดูกันเลย ว่าหลักการเลือกซื้อ เมมโมรี่การ์ดให้เหมาะสมกับการใช้งาน และคุ้มค่าที่สุด มีอะไรบ้าง









1.ก่อนอื่น เราก็ต้องรู้ซะก่อนว่า กล้องถ่ายภาพ หรืออุปกรณ์ที่จะนำเมมโมรี่มาใช้นั้น ใช้เมมโมรี่ชนิดใด

จะเป็นเมมโมรี่สติ้ก SD CF XD ก็แล้วแต่กล้องแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นค่ะ โดยส่วนใหญ่กล้อง SONY จะใช้ เมมโมรี่สติ้ก และในกล้องรุ่นหลังๆ ได้เพิ่มความหลากหลายของเมมโมรี่ สามารถใช้ได้ทั้ง SD และเมมโมรี่สติ้ก ส่วนใครดูไม่ออกว่าเป็นเมมโมรี่แบบไหน ก็พกกล้องไปซื้อเมมด้วยกันเลย

2.กล้องถ่ายภาพ หรืออุปกรณ์ที่จะนำเมมโมรี่มาใช้ สามารถบรรจุการ์ดได้ความจุสูงสุดกี่ GB

กล้องรุ่นเก่ามักจะมีปัญหาเมื่อใส่เมมโมรี่ความจุมาก ๆ อย่าง 16 GB หรือ 32 GB แล้วไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นเช็คให้ดีก่อนว่ากล้องของเราใส่เมมโมรี่ได้ความจุสูงสุดเท่าไร แต่สำหรับกล้องรุ่นใหม่ๆ ไม่มีปัญหา เลือกได้แบบไม่ต้องกั๊กเลย

3. การใช้งานส่วนใหญ่ของเราใช้งานประเภทไหน

เดี๋ยวนี้กล้องถ่ายภาพ นอกจากขนาดภาพจะใหญ่ 14 ล้าน 24 ล้าน RAW ไฟล์ แล้วยังถ่ายวีดีโอแบบ AVCHD ได้ด้วย ถ้าใครใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด แนะนำให้ใช้เมมโมรี่แบบดี ๆ ไปเลย ถ้าเป็นเมมโมรี่สติ้ก ก็เป็นแบบ Memory Stick PRO-HG Duo แต่ถ้าการใช้งานธรรมดาถ่ายภาพ JPEG ธรรมดา ถ่ายวีดีโอไม่บ่อย หรือถ่ายขนาดเล็กจะเลือกเป็นรุ่น Memory Stick PRO Duo ก็ไม่มีปัญหา









4.ยี่ห้อของเมมโมรี่ มีผลต่อความเร็วและการประมวลผลของข้อมูล 

ส่วนเรื่องความเร็วและความเสถียรของข้อมูล จะถูกจะแพง นอกจากปริมาณความจุแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความเร็วด้ว
บางยี่ห้อเรียกเป็น Class บางยี่ห้อเรียกความเร็วมีหน่วยเป็น Speed ….X และสำหรับเมมโมรี่สติ้ก Memory Stick PRO-HG Duo ,Memory Stick PRO Duo เร็วมากก็แพงมาก ตามคุณภาพ

แล้วจะดูความเร็วของเมมโมรี่อย่างไร เพราะเดี๋ยวนี้เมมโมรี่เองก็มีตั้งหลายยี่ห้อ แถมแต่ละยี่ห้อก็โฆษณาว่าดี ว่าเร็ว ว่าเสถียรแข่งกันเต็มเหนี่ยว วิธีการก็ไม่ยากดูที่ราคาของเมมโมรี่ก่อนเลย (แอบกำปั้นทุบดินเล็กน้อย 555) เพราะราคาของเมมโมรี่ที่แตกต่าง ก็มีผลต่อความเร็วในการประมวลผลที่แตกต่างกันด้วย

แล้วเมมโมรี่ที่เร็ว มีข้อดีอย่างไร ทำไมต้องจ่ายแพงกว่า จะเห็นได้ชัดเวลาถ่ายวีดีโอขนาดใหญ่ ยิ่งเดียวนี้มีการบันทึกไฟล์คุณภาพสูง Full HD , AVCHD การถ่ายภาพต่อเนื่อง และการถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่อย่าง Raw File ด้วย ทั้งหมดนี้มีผลต่อการถ่ายโอนข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ และความเสี่ยงของข้อมูลหายทั้งนั้น ดังนั้น เลือกเมมโมรี่ที่คุณภาพดีไว้ก่อนเป็นดีที่สุดอ่ะนะ

5.ระยะเวลาการรับประกัน 

ไม่ควรให้มีผลต่อการตัดสินใจ เท่าความน่าเชื่อถือของบริษัทที่รับประกัน เมมโมรี่ของแท้เดี๋ยวนี้ อย่างน้อยการรับประกัน ไม่น้อยกว่า 5 ปี ไปจนถึงตลอดชีพนู่น (ไม่รู้ชีพเราหรือเมมฯ นะ 555+) แต่ก็มีเงื่อนไขต่าง ๆ นานา แถมราคาเมมโมรี่ก็ตกฮวบๆ จนไม่คุ้มการเดินทางไปเคลม เรียกได้ว่าซื้อใหม่ซะยังดีกว่า ส่วนเรื่องข้อมูลที่หาย ไม่อยู่ในการรับประกันอยู่แล้ว

เน้นย้ำอีกที จะซื้อเมมโมรี่อย่าเห็นแก่ของถูกเด้อ เพราะมันจะได้ไม่คุ้มเสีย ที่สำคัญไม่ว่าจะเมมโมรี่ประเภทไหน กรุณาเก็บเมมโมรี่ให้ห่างจากความร้อนและของเหลวด้วย


Credit : www.addictIT.com

Wednesday 11 January 2012

การเลือกซื้อ Flash Drive

การเลือกซื้อ Flash Drive

Flash Drive? คืออะไร

หลายๆ ค่ายอาจเรียกต่างกัน แต่ใช้เทคโนโลยีเหมือนกัน คือ Flash Memory ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยจะผ่านทางพอร์ต USB ในการเชื่อมต่อ สำหรับความทนทานแล้ว ถือว่า Flash Memory จะมีความทนทานการ harddisk เนื่องจากไม่มีหัวอ่าน

การเลือกซื้อ Flash Drive

พอร์ตการเชื่อมต่อ (Interface)
ปกติเป็นพอร์ต USB 1.1 และ USB 2.0 ให้เลือก USB 2.0 เพราะจะมีความเร็วต่างกันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเครื่องคอมฯ ของคุณมีพอร์ต USB เวอร์ชั่น 1.1 ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้เช่นกัน (อย่างไรก็ดีในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็น การใช้งาน Flash Drive ในรูปแบบการเชื่อมต่อ USB3.0)


ความจุ (Storage Size)
เดิมความจุเริ่มต้นด้วย?8, 16, 32, 64, 128 และ 256 MBแต่ปัจจุบัน เริ่มต้นกันที่ 1,024 MB หรือ 1, 2, 4, 8, 16,32 GB แล้วครับ

ความสามารถอื่นๆ (Other)
ถ้าต้องการมากกว่าบันทึกข้อมูลแล้ว การพิจารณา Flash Drive ในอยู่ในรูปของ 4 in 1 ซึ่งมีความสามารถพิเศษอื่นๆ เพิ่มคือ ฟังวิทยุ เล่นไฟล์ MP3, บันทึกเสียง และท้ายสุดบันทึกข้อมูลได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ราคาเมื่อเทียบกับความจุแล้ว จะต่างกันมาก

ขนาด (Dimension)
ไม่มีผลกับความจุ แต่อย่างไรก็ตาม ขนาดโดยทั่วไปจะทำกับปากกา บางยี่ห้อมีการทำ Mini Flash Drive ซึ่งมีขนาดเล็กลงไปอีก ซึ่งสามารถใช้ห้อยคอได้ด้วย

ความเข้ากัน (Support)
Flash Drive จะใช้งานได้ดีกับ Windows ME, 2000, XP, Vista และ Windows7 โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Driver แต่สำหรับ Windows 98 จำเป็นต้องมีการลง Driver ก่อนการใช้งาน

ไฟแสดงสถานะ (Nothification Lamp)
บางรุ่นจะมีไฟ LED เล็กๆ แสดงอยู่ ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่า Flash Drive ถูกใช้งานอยู่

**ทิปการใช้งาน Flash Driver หลังจากเลือกซื้อได้แล้ว อย่าลืมศึกษาเรื่องการใช้งานสักนิด เพราะว่าการเสียบ Flash Drive เข้ากับคอมฯ ในช่อง USB นั้น สามารถเสียบได้ทันที แต่กรณีที่ต้องการถอดออก โดยไม่ต้องการปิดเครื่องคอมฯ นั้น ให้ทำการ Stop การใช้งานก่อน เพราะมิฉะนั้น อาจทำให้ Flash Drive เสียหายได้**

Credit : www.addictIT.com

วิธีการเลือกซื้อ External HDD เลือกแบบไหนให้ถูกใจ

วิธีการเลือกซื้อ External HDD เลือกแบบไหนให้ถูกใจ

     ในยุคดิจิตอลที่เลข 0 และ 1 ถูกสังเคราะห์ไปเป็นข้อมูลและสร้างสรรค์ให้คนเรานำไปใช้ประโยชน์อย่างมากมาย(และหลายครั้งก็นำไปใช้แล้วให้โทษมามากมายหลายเช่นกัน)  นับวันเจ้าของข้อมูลดิจิตอลที่ประกอบไปด้วยเลข 2 ตัวนี้ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นทุกอณูมวล  การจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลก็มีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย  และหากมองถึงความเป็นดิจิตอลก็มีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว   และหากมองถึงความเป็น  Digital  Mobile  Lifestyle  อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่พกพาได้ก็เริ่มมีอิทธิพลต่อไลฟ์สไตล์ของคนไอทีรุ่นใหม่มากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
   แน่นอนว่าอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถพกพาข้อมูลของคุณไปไหนมาไหนได้สะดวกในเวลานี้มีให้ใช้งานอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ  ที่ฮิตกันอยู่มากที่สุดจะหนีไม่พ้นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลผ่านอินเทอร์เฟซ แบบ USB  ที่สุดแสนยอดนิยมอย่างแพร่หลายอย่างแฟลซไดรฟ์ไปได้  แต่ด้วยขนาดในการจัดเก็บข้อมูลสูงสุดที่สามารถหาซื้อได้ในบ้านเราเพียงแค่ 16 กิกะไบต์ก็อาจจะไม่สะใจพอสำหรับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากกว่านั้นได้  ดังนั้นอุปกรณ์ที่น่าจะตอบสนองความต้องการในการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้น External  Handdisk หรือฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานภายนอกไปได้ (ต่อไปขอใช้คำว่า Ext  HDD เพื่อความกะซับนะครับ)ด้วยราคาที่ลดต่ำลงมาเรื่อยๆ  บวกกับรูปแบบและรูปลักษณ์ที่มีให้เลือกให้อย่างหลากหลาย  จึงไม่แปลกในที่  Ext HDD จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าไข้หวัด 2009  และจุดประสงค์ของบทความนี้ก็คือการแนะนำการเลือกซื้อ Ext HDD  อย่างไรให้ถูกใจคุณผู้อ่านมากที่สุด  พูดง่ายๆ  ก็คือซื้อครั้งเดียวให้ได้ Ext HDD ให้ถูกใจแบบไม่มีชีช้ำกันไปเลย
เลือกรูปแบบของ Ext HDD


        จะว่าไปหากมองถึงรูปแบบของ  Ext  HDD ในปัจจุบัน  ก็อาจสรุปได้ว่ามีอยู่ 2 รูปแบบให้เลือกใช้งาน คือ  ขนาด 2.5 นิ้ว  ที่นำฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว  ที่ใช้งานภายในโน้ตบุ๊กมาประยุกต์ใช้งานเป็น Ext HDD โดย Ext HDD รูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ไปเลี่ยงจากภายนอกมาใช้งานแต่อย่างใด  อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากพอร์ต USB ก็เพียงพอที่จะทำให้ตัวฮาร์ดดิสก์สามารถทำงานได้แล้ว  จึงมีความสะดวกเป็นอย่างมากในการพกพาไปไหนมาไหน  แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องระวังเรื่องการตกกระแทกให้ดีด้วยเช่นกัน  เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าฮาร์ดดิสก์ที่นำมาใช้งานนั้น  เป็นฮาร์ดดิสก์แบบเดียวกับที่ใช้งานในโน้ตบุ๊กซึ่งเป็นระบบกลไกแมกคานิกปรับระดับตำแหน่งหัวอ่านให้อ่านข้อมูลที่อยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล  หากพกพาแบบไม่ระวังก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายจนไม่สามารถอ่านข้อมูลได้  หรือหากว่าเกิดการกระแทกในระหว่างการทำงานก็อาจจะทำให้หัวอ่านกระแทกกับสื่อบันทึกข้อมูลจนเกิดความเสียหายขึ้นทั้งสื่อบันทึกข้อมูลและหัวอ่านได้เช่นกัน
  
     Ext HDD  ขนาด 2.5 นิ้ว  มีความกะทัดรัด  เชื่อมต่อตัวไดรฟ์เข้ากับพอร์ต USB  ก็สามารถใช้งานได้ทันที
           ส่วน Ext HDD อีกแบบจะเป็นแบบขนาด 3.5 นิ้ว  ที่นำฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว  ที่ใช้งานบนเครื่องเดสก์ทอปมาประยุกต์เป็น Ext HDD แน่นอนว่ารูปลักษณ์ของฮาร์ดดิสก์รูปแบบนี้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าในแบบ 2.5 นิ้ว  อย่างเห็นได้ชัดเจนขณะเดียวกันด้วยการเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดสื่อบันทึกข้อมูลที่ใหญ่กว่า  จึงจำเป็นต้องมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม  เพื่อให้มอเตอร์สามารถขับเคลื่อนสื่อบันทึกข้อมูลให้หมุน  และหัวอ่านสามารถค้นหาข้อมูลได้  ด้วยขนาดใหญ่กว่าบวกกับการต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม  ทำให้ Ext HDD รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานอยู่เป็นที่เป็นทางกับเครื่องเดสก์ทอปหรือโน้ตบุ๊กเป็นหลัก  โดยวัตถุประสงค์การใช้งานก็เพื่อขยายขนาดความจุข้อมูลให้กับเครื่องพีซีได้มากกว่าของเดิมที่มีอยู่โดยไม่ต้องอัพเกรดฮาร์ดดิสก์เพิ่มเติม  หรือไม่ต้องเปิดฝาเคสออกมาให้เสียเวลา  ถามยังสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้คล่องตัว  แม่ว่าจะต้องพกอะแดปเตอร์ไปด้วยก็ตาม
     Ext HDD ขนาด 3.5 นิ้ว มีขนาดใหญ่กว่าแบบ 2.5 นิ้ว  และจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากอะแดปเตอร์
     จะเห็นว่า Ext HDD ทั้ง 2 ขนาด  ก็สามารถแบ่งกลุ่มรูปแบบการใช้งานไห้กับผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน  ขณะเดียวกันหากมองในเรื่องของราคาขาย  Ext HDD ที่ขนาดเท่ากัน  ขนาด 3.5 นิ้ว  จะมีราคาต่อ 1 กิกะไบต์  ที่ต่ำกว่า 2.5 นิ้ว  อย่างเห็นได้ชัด (ดูรายละเอียดได้จากตารางที่ 2 ) โดยขนาด 3.5 นิ้วจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อให้คุณได้เลือกใช้งานที่หลากหลายกว่า  ซึ่งรูปแบบการเชื่อมต่อจะมีรูปแบบใดให้ใช้งานนั้นเราไปดูราบละเอียดส่วนนี้ในหัวข้อถัดไปกันเลย
อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อก็สำคัญ
         สำหรับอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่เราจะพบจาก  Ext HDD ก็มีหลายรูปแบบด้วยกันไม่ว่าจะเป็นแบบพอร์ต  USB 2.0 ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแถมยังให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงสุดถึง 480  เมกะบิตต่อวินาที  อีกด้วยหรือจะเป็นแบบ  Fire Wire  ในแบบ IEEE400  และ IEEE800  ที่ให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลในระดับ  400 เมกะบิตต่อวินาที  และ 800 เมกะบิตต่อวินาทีและที่ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุดก็หนีไม่พ้นอินเตอร์เฟซแบบ eSATA หรือ External SATA ที่นำการเชื่อมต่อแบบ SATA มาใช้กับ Ext HDD ภายนอกได้  ทำให้การเชื่อมต่อข้อมูลมีความรวดเร็วในระดับ 300 เมกะไบต์ต่อวินาที  ซึ่งเทียบเท่ากับการติดตั้งฮาร์ดดิส์กแบบ SATA ไว้ในตัวเคสของเครื่องพีซีเลยที่เดียว

            รูปแบบการเชื่อมต่อของ Ext HDD กับเครื่องพีซีในอินเตอร์เฟซรูปแบบต่างๆ
ตารางที่ 1 แสดงอัตราการถ่ายโอนข้อมูลในทางทฤษฏีของอินเตอร์เฟซการเชื่อมในรูปแบบต่างๆ
eSATA
300  เมกะไบต์ต่อวินาที
FireWire 800
800 เมกะบิตต่อวินาที (100 เมกะไบต์ต่อวินาที)
FireWire 400
400 เมกะบิตต่อวินาที (50 เมกะไบต์ต่อวินาที)
USB 2.0
480 เมกะบิตต่อวินาที (60 เมกะไบต์ต่อวินาที)
NAS  อีกตัวเลือกที่น่าสนใจ
       Ext  HDD แบบ NAS หรือ Network  Attach  Storage  เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการอรรถประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม  เพราะ NAS สามารถที่จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายได้  ทำให้สามารถแบ่งปันไฟล์ต่างๆ  ให้กับเครื่องพีซีอื่นๆ  ในระบบเครือข่ายได้อย่างสะดวกโดยที่  NAS จะมีให้เลือกใช้งานทั้งที่ออกแบบสำหรับใช้ในองค์การขนาดใหญ่หรือสำนักงานขนาดเล็ก
    NAS  จะมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบที่มีฮาร์ดดิสก์มาให้สำเร็จรูปในตัว  ผู้ใช้ไม่สามารถอัพเกรดได้ (เว้นแต่มีการถอดเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ด้วยตัวเอง)และแบบที่ต้องซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งานเอง  โดยในซีรส์ที่มีราคาสูงสักหน่อยก็อาจจะมีคุณสมบัติการใช้งาน RAID 0 และ RAID 1  มาให้ด้วยหรือจะเป็นคุณสมบัติการดาวน์โหลดไฟลือัตโนมัติ  อย่างเช่น  บิตทอร์เนนต์เพิ่มมาให้ใช้งานเพิ่มอีกด้วย
     ส่วน NAS อีกแบหนึ่งก็จะเป็น NAS แบบ NAS Sever  ที่ผู้ใช้จะต้องจัดหาฮาร์ดดิสก์มาใช้งานเพิ่มเติมเองโดย  NAS รูปแบบนี้จะมีฟังก์ชันการใช้งานมาใช้งานมากมาย  นอกเหนือจากฟังก์ชั่นทั่วไป  อย่าเช่น  การทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อแบ่งปันไฟล์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทั้งในแบบ SMB,FTP,HTTPS,HTTP และ AEP ทำให้องค์การไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่มาใช้งาน  อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ  หากเป็น NAS Sever ในรุ่นท็อปก็จะมีไดรฟ์เบย์ในแบบ  Hot  Swap  ได้  แม้ว่าตัวเครื่องกำลังทำงานอยู่ก็ตาม  ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น
ขนาดเท่าไหร่ที่น่าจะซื้อ
   จากการเลือกประเภท  อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อ  ของ Ext  HDD ต่อไปเรามาดูกันว่า  Ext HDD  ขนาดความจุเท่าไหร่ที่น่าใช้งานมากที่สุด  จากตารางที่ 2 เป็นตารางแสดงราคาต่อ 1 กิกะไบต์ ของ Ext HDD ในรูปแบบและขนาดต่างๆ  จะเห็นว่า Ext HDD ที่มีขนาดความจุยิ่งมาก  ก็ยิ่งมีราคาต่อราคาต่อ 1 กิกะไบต์ที่น้อยลงตามไปด้วย  ที่สังเกตได้ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ  Ext HDD ขนาด 2.5 นิ้ว จะมีราคาต่อ1 กิกะไบต์  ที่สูงกว่าขนาด 3.5 นิ้ว  อยู่ประมาณ 21% - 24%    เลยทีเดียวและแน่นอนว่าถ้าหากมองที่ราคาต่อ 1 กิกะไบต์ Ext HDD ความจุสูงๆ  ช่างให้ความคุ้มค่าน่ายั่วยวนใจเสียเหลือเกินโดยให้ความคุ้มที่สุดคือ 3.66 บาท ต่อ 1 กิกะไบต์

ตารางที่ 2 ราคาต่อ 1 กิกะไบต์  ของ Ext HDD ขนาด  และรูปแบบต่างๆ
ประเภทของ Ext HDD
ขนาดความจุ
ราคาโดยเฉลี่ย
ค่าใช้จ่ายต่อขนาด 1 กิกะไบต์
Ext HDD ขนาด 2.5 นิ้ว
160 กิกะไบต์
1,995  บาท
12.46  บาท
250 กิกะไบต์
2,420  บาท
9.68  บาท
320 กิกะไบต์
2,698  บาท
8.42  บาท
500 กิกะไบต์
3,878  บาท
7.75  บาท
Ext HDD ขนาก 3.5 นิ้ว
320 กิกะไบต์
2,210  บาท
6.62  บาท
500 กิกะไบต์
2,910  บาท
5.82  บาท
1,024 กิกะไบต์
4,560  บาท
4.48  บาท
1,.240 กิกะไบต์ มี พอร์ต eSATA
(7,200 รอบต่อวินาที)
6,100  บาท
5.95  บาท
1,596 กิกะไบต์
5,800  บาท
3.66  บาท
การประกันก็ไม่ควรมองข้าม
         นอกเหนือจากปัจจัยการเลือกซื้อแล้ว  ในส่วนของการรับประกันหลังการขายก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยการเลือกซื้ออื่นๆ  เพราะนั่นหมายถึงความสุขหรือความสุขใจหรือทุกข์ใจปริมาณมากหรือน้อยที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ตัว  Ext HDD มีปัญหาเกิดขึ้น  ดังนั้นในการเลือกซื้อ Ext HDD คุณควรจะมองว่าแบรนด์ใดให้ระยะเวลารับประกันมากน้อยเพียงใด  มีศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่ายมากน้อยแค่ไหน  และหากตัวสินค้ามีความเสียหายจะมีการบริการเสริมมากน้อยอย่างไรเปลี่ยนตัวใหม่ให้หรือไม่  มีบริการแบ็กอัพข้อมูลให้ฟรี  หรือต้องมีค่าใช้จ่าย  ในส่วนนี้คุณต้องหาข้อมูลด้วยตัวเองก่อนซื้อให้ดีเสียก่อน  เพราะหากไปถามพนักงานขายก็อาจจะให้คำตอบที่คลาดเคลื่อนแก่คุณได้
USB 2.0 VS FireWire 400 VS FireWire 800 : แบบแรงกว่ากัน
        ด้วยอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่หลากหลาย  แน่นอนว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของการเชื่อมต่อแต่ละแบบไม่เท่ากันโดยเฉพาะความต่อเนื่องในการถ่ายโอนข้อมูล  จุดนี้จึงเป็นอีกจุดหนึ่งทีมงานอยากทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลแก่ผู้อ่านคุณผู้อ่านได้ทราบ  ในการทดสอบครั้งนี้ทีมงานทดสอบด้วยการใช้ My Book Studio  ของ  Western Digital ขนาด 500 กิกะไบต์  ที่มีพอร์ตให้ใช้งานทั้ง  FireWire 400, FireWire 800,USB 2.0 และ eSATA อย่างครบถ้วน
          สำหรับการทดสอบทีงานได้ทดสอบโดยอิงการใช้งานจริงเป็นหลัก  นั้นคือ  ทดสอบด้วยการจับเวลาในการถ่ายโอนข้อมมูลขนาด 1 กิกะไบต์  ในรูปแบบต่างๆ  รวมถึงการทดสอบการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่าง  Photoshop  ที่มีการเซ็ตให้ตัวแอพพลิเคชั่นใช้งานหน่วยความจำเพียงแค่ 25 %  โดยทุกหัวข้อการทดสอบจะมีการทดสอบทั้งหมด 4 ครั้ง  แล้วนำผลการทดสอบที่ดีที่สุดเป็นผมการทดสอบที่ได้ออกมา  ส่วนระบบที่ใช้ในการทดสอบได้แสดงในตากรางแสดงผลการทดสอบเรียบร้อยแล้วในตารางที่ 3 เรียบร้อยแล้ว
ตารางที่ 3 แสดงรายละเอียดระบบที่ใช้ในการทดสอบ
ซีพียู
Intel Core 5 Duo E4200 1.8 GHz @ 3GHz
เมนบอร์ด
Gigabyte GA-965p-DS3
กราฟิกการ์ด
MSI GeForce88000 GT 512 MB
หน่วยความจำ
2 x G-Skill  DDR2 800 1GB
ฮาร์ดดิสก์
Western  Digital Caviar 400GB 7200rpm
ระบบปฏิบัติการ
Windows XP SP3
ผลการทดสอบ
ตารางที่ 4 ผลการทดสอบเวลาการโอนถ่ายข้อมูลขนาด 1 กิกะไบต์  ในรูปแบบต่างๆ(ใช้เวลายิ่งน้อยยิ่งดี)
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์ (FireWire800)
0:32
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์ (FireWire400)
0:43
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์
(USB 2.0)
0:51
ก๊อบปี้ไฟล์ 1 GB  ในยังตัวไดรฟ์ (eSATA)
0:31
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(FireWire800)
0:47
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(FireWire400)
1:12
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(USB 2.0)
1:20
ดึงข้อมูลจากตัวไดรฟ์ 1 GB
(eSATA)
0:49
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(FireWire800)
1:21
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(FireWire400)
1:31
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(USB 2.0)
1:34
บันทึกงาน  Photoshop ไปยังไดรฟ์
(eSATA)
1:24

สรุปผลการทดสอบ
         ในการทดสอบก๊อปปี้ไฟล์ขนาด 1 กิกะไบต์  จากเครื่องทดสอบไปยังตัวไดรฟ์  พบว่า eSATA ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วที่สุด  โดยมี FireWire 800  ตามาเป็นอันดับสองด้วนเวลาต่างกันเพียง 1 วินาที FireWire 400  ตามมาเป็นอันดับ 3 และ USB 2.0 เป็นอันดับสุดท้ายแม้ว่าในทางทฤษฏี  USB 2.0 จะมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลสูงกว่า FireWire 400 แต่ในการใช้งานจริงจะพบว่า FireWire 400 ให้ความรวดเร็วกว่าอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน USB 2.0 ใช้เวลาช้ากว่า eSATA อยู่ 20 วินาที  หรือประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์  เลยทีเดียว
     สำหรับการคักลอกไฟล์จากตัวไดรฟ์มายังเครื่องพีซีทดสอบ  ปรากกฎว่าเป็น FireWire 800ที่ผลการทดสอบได้ดีกว่า  eSATA ด้วยการมีความแตกต่างของเวลาเพียง 2 วินาที  ขณะที่ USB 2.0 ก็ยังทำผลงานได้ช้าที่สุดเช่นเดิม  โดยช้ากว่า FireWire 400 ถึง 8 วินาที และช้ากว่า  FireWire  800 ถึง 33วินาที หรือ 21 เปอร์เซ็นต์
สำหรับการทดสอบสุดท้ายที่นำแอพพลิเคชั่น  Photoshop มาร่วมเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบ  เพื่อให้ผลทดสอบที่ตรงกับการใช้งานจริงมากที่สุด  และเซ็ตให้ตัวแอพพลิเคชันใช้งานหน่วยความจำจากระบบพีซีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์  ก็พบว่า FireWire 800 ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลมากที่สุดเช่นเคย  โดยเร็วกว่า eSATA อยู่ 3 วินาที  ขณะที่ FireWire 400 ก็ทำเวลาได้ดีกว่า USB 2.0 อยู่ 3 วินาที  และแน่นอนว่า USB 2.0 ก็ยังใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูลได้ช้าที่สุดอีกครั้ง  โดยมีความแตกต่างจาก FireWire 800 อยู่ 13 วินาที หรือประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์
       จากผลการทดสอบ  จะเห็นได้ว่า  eSATA และ FireWire 800 ให้ความสวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน (แม้ว่าในทางทฤษฏีจะมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลต่างกัน 3 เท่าตัว) จึงเป็นสองอินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อที่ควรนำมาใช้งานเป็นอย่างยิ่งหากว่าคุณจะคิดจะนำ Ext HDD มาใช้งานที่ต้องเก็บไฟล์ขนาดใหญ่  หรืองานทีต้องการความรวดเร็วในการเก็บข้อมูลระดับสูง  อย่างเช่น การเก็บไฟล์เสียง  หรือไฟล์วีดีโอที่ได้จากการตัดต่อ  เป็นต้น  ขณะเดียวกัน FireWire 400  ก็ให้ความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ดีกว่า USB 2.0 ในทุกหัวข้อการทดสอบ  ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ทีมงานรู้สึกแปลกใจแต่อย่างใด  เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา FireWire 400 จะให้ความเสถียรภาพและความคงที่ในการถ่ายโอนข้อมูลมากกว่าอยู่แล้ว
ดูที่งบประมาณ  และรูปแบบดารใช้งานเป็นหลัก
     เชื่อว่าคุณผู้อ่านจะได้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางการเลือกซื้อ  Ext HDD จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยโดยสิ่งที่ควรจะยึดเหนี่ยวหลักๆ  ในการเลือกสรร Ext HDD ก็คือ
            หนึ่ง งบประมาณในการเลือกซื้อที่คุณมีอยู่  มีงบเต็มที่ได้แค่ไหนก็เลือกเอารุ่นที่รามคาไม่เกินงบประมาณของคุณดีที่สุด  แม้ว่าในรุ่นความจุขนาดใหญ่จะมีราคา 1 กิกะไบต์  ที่น่าสนใจก็ตาม  เพราะการใช้งานทั่วไปอินเตอร์เฟซแบบ USB 2.0 ก็น่าจะเพียงพออยู่แล้ว
          สอง  เลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน  หากว่าไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ  แต่เน้นประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลักเพื่อให้เหมาะสมกับงาน  เช่น  การเก็บข้อมูลขนาดใหญ่  การใช้ Ext HDD ร่วมกับแพพลิเคชันที่ต้องการความเร็ว  อย่างเช่น  โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ  หรือการทำงานทางด้านมัลติมีเดียที่ต้องการอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระดับสูง  ก็ให้เลือกใช้งาน Ext HDD ที่รองรับอินเทอร์เฟซ แบบ FireWire 800, FireWire 400  หรือ eSATA หากต้องการแชร์ไฟล์ผ่านระบบเครือข่าย  การเลือกใช้งาน NAS เองก็จะมีระบบรักษาความปลอกภัยพื้นฐานมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งานอยู่แล้ว
        จะซื้อ Ext HDD มาใช้งานทั้งทีก็ต้องให้ได้ของถูกใจและดีที่สุด  ยิ่งกับสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ด้วยแล้ว  การจับจ่ายแต่ละครั้งก็ควรจะต้องจบด้วยความแฮปปี้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับชีวิต  เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดแล้วล่ะครับ
      Credit : PC World
                   www.AddictIT.com

Caring for your Flash Memory

1. Replace or recharge batteries in devices after getting a low-battery warning.
Battery discharge is one of the most common problems causing the loss of pictures or other data on Flash storage devices. If a battery dies in the middle of a write operation to the Flash
storage device, not only can the file being written become corrupted, but the entire device
may be damaged as well. For example, if the File Allocation Table (FAT) directory file update
is incomplete and the FAT file is corrupted, some or all files on the Flash storage device may
no longer be accessible.
However, it may be possible to repair the Flash storage device using commercially available
disk recovery software. Even with these recovery programs, some data or files on the Flash
storage device may still be lost, but the rest may be recoverable.
To avoid these problems, carry a spare battery if possible or stop using a device when
battery power gets very low.
2. Properly remove your Flash storage device from the host device.
It is important to wait until all operations are completed before removing a Flash storage
device from a digital camera or other host device. If the Flash storage device is removed
during a write operation, for example, the Flash storage device may be corrupted and data
loss may occur.
Most digital cameras will show a blinking light during Flash write operations, so it is
important to wait until all operations are completed.
On PCs, it is important to stop a DataTraveler's USB connection through Windows (In
Windows XP, use the "Safely Remove Hardware" icon in the system tray).
3. Properly store Flash cards in their plastic cases and close the cap on drives.
Flash storage devices, while quite reliable, can be damaged when dropped on hard surfaces. When they are not in use, store Flash storage cards in their clear plastic cases.
In addition, static electricity can also damage Flash storage devices. For example, on dry
days, a person can generate enough static electricity to cause a spark while touching a
doorknob or other metal objects (this is called electro-static discharge or ESD).
Most of solid state device are designed to resist high levels of electro-static discharge;
however, extreme levels of ESD may cause damage.
4. Do not force Flash storage devices into connectors.
Flash card or USB Flash drive connectors are unidirectional. This means that the Flash
storage device must be inserted in one direction only; if you cannot insert the drive or card,
do not force it in. This will prevent damage to the Flash storage device or the socket. For
more information on proper insertion of Flash cards or USB Flash drives, consult your host
device's user manual.
5. Pack Flash storage devices into carry-on luggage if possible.
Tens of millions of Flash storage devices are in use worldwide and there have been no
verifiable reports of Flash storage damage due to airport X-ray scanners.
A 2004 study by the International Imaging Industry Association (I3A) verified that today's
airport X-ray machines do not appear to be a risk to flash memory cards. 1
As a precaution, Kingston recommends that Flash cards and DataTraveler drives be
treated just like unprocessed film and stored in carry-on luggage, as the passenger
screening radiation levels are much lower than those used by newer luggage scanning
machines.
6. Avoid U.S. Postal Service radiation scanning of mailed packages.
According to the CompactFlash Association, X-ray scanners at airports will not damage
CompactFlash cards but radiation scanning by the U.S. Postal Service may damage them. 2
Because of this warning by the CompactFlash Association regarding mail irradiation by the
U.S. Postal Service, it may be preferable to use a commercial service such as FedEx, UPS or
other private carrier as an alternative to mailing Flash storage devices by U.S. mail.
7. Always make backups of your data.
Flash storage devices are not infallible and can have their data damaged due to factors
mentioned above. It is important to backup important information on multiple media or
even print data on paper for long-term storage. Do not store important data solely on Flash
storage devices.

Credit : www.addictIT.com
www.kingston.com